เอาท์ซอสซิ่งด้านออกแบบ/คำนวณ VS พนักงานประจำ

คุณรู้หรือไม่ว่า บริษัทขนาดใหญ่ระดับโลกก็จ้างเอาท์ซอสซิ่งด้านออกแบบ/คำนวณ เช่น
กิจการเอาท์ซอสซิ่งฯ อย่าง 
-Saratech เป็นเอาท์ซอสซิ่งด้านออกแบบ/คำนวณให้กับบริษัท อย่าง Shell, virgin galactic, spaceX, Honeywell และ BOEING
-Applied CAx เป็นเอาท์ซอสซิ่งด้านออกแบบ/คำนวณให้กับบริษัทอย่าง ROCKETLAB , AeroTEC และ sierra space
ซึ่งต่างกับบริษัทในประเทศไทยที่จ้างเอาท์ซอสซิ่งด้านออกแบบ/คำนวณ น้อยมาก ดูได้จากงานของผู้เขียนเองที่ส่วนใหญ่มาจากกิจการต่างชาติ ส่วนงานจากคนไทยนานๆที ทำไม??? ไม่ว่าจะเหตผลใดก็ตาม 

เจ้าของกิจการ/ผู้บริหารชาวไทย คงตั้งคำถามว่า “ทำไม? บริษัทขนาดใหญ่ในต่างประเทศ…ถึงเลือกที่จะจ้างเอาท์ซอสซิ่งด้านออกแบบ/คำนวณ ทั้งที่บริษัทพวกนี้มีความพร้อมสูง ทั้งเทคโนโลยี และเงินทุน”


ข้อสังเกต เอาท์ซอสซิ่งฯ vs พนักงานประจำ
ข้อ1.ความสามารถ และประสบการณ์ (ผลงาน)
มีคำกล่าวที่ว่า “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” ดังนั้นสิ่งที่บอกถึงความสามารถและประสบการณ์ได้ดีที่สุดคือ “ผลงาน” และ ”ความเกี่ยวข้องหลักกับผลงาน” ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้ว่าจ้างต้องดู และพิจารณา 

“ทำความเข้าใจกับ “ผลงาน” 
ในทาง mechanical (Machine/Mechanism) แบ่งระดับงาน เป็น 2 ระดับ คือ 
-กลุ่มงานพื้นฐาน เช่น เครื่องจักรอัตโนมัติ/หุ่นยนต์แบบ Cartesian ที่ไม่เป็น enhance dynamic characteristics หรือมี cycle time ต่ำ หรือ ชิ้นส่วน/โครงสร้างที่รับแรงอยู่กับที่ เป็นต้น ในกลุ่มงานนี้ ใช้วิธี Static Analysis เพียงอย่างเดียวก็สามารถทำได้สำเร็จ 
-กลุ่มงานก้าวหน้า เช่น เครื่องจักรอัตโนมัติ/หุ่นยนต์แบบ Cartesian ที่เป็น enhance dynamic characteristics หรือ cycle time สูง หรือ Articulated robot(แขนกล) หรือ Legged robots หรือ ชิ้นส่วน/โครงสร้างรถยนต์ หรือ ชิ้นส่วนอากาศยาน โดรน หรืองานที่มีผลต่อชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น  ในกลุ่มงานนี้ ใช้วิธี Fatigue Analysis และ Dynamic Analysis จึงสามารถทำได้สำเร็จ”

”ทำความเข้าใจกับ “ความเกี่ยวข้องหลักกับผลงาน” 
เมื่อผู้สมัครงาน หรือ เอาท์ซอสซิ่งฯเอาผลงานให้ดู สิ่งที่ผู้ว่าจ้างต้องถาม และพิจารณาคือ เขาเป็นคีย์แมนสำคัญในผลงานนั้นหรือเปล่า? สำหรับงาน mechanical (Machine/Mechanism) คีย์แมนคือคนที่มีความสำคัญที่สุด ในที่นี้คือวิศวกรคำนวณ เนื่องจากวิศวกรคำนวณจะสามารถคำนวณได้อย่างถูกต้องนั้น ต้องแม่นยำในทฤษฎี และผ่านประสบการณ์การออกแบบ และทำเครื่องฯจริงมาก่อน ถึงจะสามารถคำนวณได้อย่างถูกต้องแม่นยำโดยเฉพาะงานในกลุ่มงานก้าวหน้า”
สิ่งที่ผู้ว่าจ้างต้องทำคือ ขอดูผลงาน และให้ผู้สมัครงาน หรือ เอาท์ซอสซิ่งฯรีวิวรายงานการคำนวณเบื้องต้น (อธิบายผลงานนั้นได้คำนวณอะไรบ้าง พร้อมวิธีคำนวณเบื้องต้น และความสอดคล้องกับผลงานอย่างไร)
โดยผู้ว่าจ้างควรพิจารณาผลงาน ให้อยู่ระดับเดียวกันกับ งานของบริษัทที่ต้องการทำเป็นสำคัญ เลือกคนให้ตรงกับงาน‘‘
**ถ้าพิจารณาเรื่องจำนวนผลงาน ก็ต้องยอมรับว่าเอาท์ซอสซิ่งฯ มีผลงานที่สามารถเปิดเผยได้มากกว่า และเป็นคีย์แมน ไม่งั้นคงไม่มาทำเอาท์ซอสซิ่งฯ 

ข้อ2 การรับประกันผลงาน
มีคำถามจากผู้ว่าจ้างเป็นประจำว่า ออกแบบ/คำนวณแล้ว จะใช้งานได้ไหม?? และเสร็จเมื่อไหร่?
ใช้งานได้หมายถึง 
-ทำงานได้ตามที่ต้องการ 
-cycle time ได้ตามที่ต้องการ
-ไม่เกิดการสั่นจนเกิดความเสียหาย หรือเกิดผลกระทบต่อการทำงาน หรือเกิดความไม่มั่นใจ
-มีความน่าเชื่อถือ (คงทน) มีอายุใช้งานตามที่ออกแบบใว้
  แน่นอนถ้าคุณเลือก เอาท์ซอสซิ่งฯ เขาก็ต้องรับประกันผลงาน และมีกำหนดการที่แน่นอนว่าเสร็จเมื่อไหร่ แต่ถ้าคุณจ้างประจำ เขาจะรับผิดชอบผลงานได้ไหม?? เสร็จเมื่อไหร่บอกได้ไหม??…
**ออกแบบนั้นไม่ยาก เขียนแบบเป็นก็ออกแบบได้..
**คำนวณก็ไม่ยาก แต่จะคำนวณให้ถูก เพื่อให้ใช้งานได้นี่ไม่ง่าย….

ข้อ3.การเติมเต็มส่วนที่ขาด
คงไม่มีบริษัทไหนที่พร้อมในเทคโนโลยีไปทุกเรื่อง จึงไม่แปลกที่บริษัทระดับโลก เลือกที่จะจ้างเอาท์ซอสซิ่งฯ มาเสริมจุดอ่อนของตนเอง อย่างเช่น กิจการของคุณมีวิศวกรฝ่ายผลิต และวิศวกรออกแบบที่พร้อม แต่ไม่สามารถคำนวณปัญหายากๆได้ เช่น Fatigue Analysis หรือ Dynamic Analysis ถ้าคุณมัวไปประกาศหาวิศวกรออกแบบที่คำนวณปัญหาพวกนี้ได้ คงไม่ใช่วิธีที่ฉลาด เพราะไม่รู้จะได้คนที่ต้องการไหม? ทำงานได้จริงไหม? ไม่ดีกว่าหรือ ถ้ากิจการของคุณเลือกที่จะจ้างเอาท์ซอสซิ่งฯ มาเสริมเพื่อทำงานควบคู่กับวิศวกรที่คุณมี 



ข้อ4.ค่าใช้จ่าย
ปัจจัยของค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน งานยากใช้เวลามาก และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ยกตัวอย่าง ถ้าคุณต้องทำโครงการระดับกลุ่มงานก้าวหน้า ใช้ระยะเวลาโครงการ 12 เดือน ถ้าคุณเลือกจ้างพนักงานประจำ วิศวกรที่ออกแบบ/คำนวณที่สามารถคำนวณ Fatigue Analysis และ Dynamic Analysis ได้ หาไม่ง่าย เงินเดือนไม่ถูก 5 หมื่นอัพแน่นอน ลองคิดจ้าง 12 เดือนจ่ายเท่าไหร่ ถ้าเทียบกับเอาท์ซอสซิ่งฯ คุณจ่ายน้อยกว่าอยู่แล้ว และสิ่งที่ต่างคือ การรับประกันผลงาน รับประกันระยะเวลาเสร็จ และสวัสดิการที่ไม่ต้องเสีย อย่างไหนคุ้มค่ากว่ากัน..คงตอบไม่ยาก
**สำหรับพนักงานประจำ ถ้าบริษัทไม่มีงานให้ทำ หรืองานลดลง หรือมีงานไม่แน่นอน แต่ต้องจ่ายเงินเดือน+สวัสดิการเท่าเดิม เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา?

ข้อ5.ความยืดหยุ่น
สำหรับพนักงานประจำที่รับค่าจ้างรายเดือนมีข้อดีคือ สามารถเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการได้ตลอดเวลา เพราะเป็นพนักงานประจำ แต่กลับกันถ้าเป็นเอาท์ซอสซิ่งฯ การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการต้องอยู่ในสัญญา ถ้าไม่อยู่ ก็ต้องแก้สัญญา แต่…..
**สำหรับโครงการที่มีข้อจำกัดเฉพาะ หรืองานที่ปรึกษาควรว่าจ้างเอาท์ซอสซิ่งฯแบบสัญญารายปี หรือแบบ 6 เดือนแทน เพราะจะมีความยืดหยุ่นไม่แตกต่างจากพนักงานประจำ

ข้อ6.ความพร้อมใช้งาน 
เอาท์ซอสซิ่งฯจะมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน แค่คุณเลือกให้ตรงกับงานหรือโครงการของคุณ ก็สามารถใช้งานได้เลย แต่กลับกันสำหรับพนักงานประจำเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ที่จะหาคนที่พร้อมใช้งานเลย ต้องมาเทรน และเทรนแล้วจะใช้งานได้ไหม ถ้าเป็นโครงการใหม่ เทคโนโลยีใหม่..ใครจะเทรน…ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องพิจารณา?

ข้อ7.ความลับทางการค้า/ทางเทคนิค
เรื่องนี้สำหรับเอาท์ซอสซิ่งฯหรือพนักงานประจำแทบไม่แตกต่างกัน ผู้ว่าจ้างสามารถทำสัญญาความลับทางการค้า/ทางเทคนิค ใน 3 รูปแบบมาตรฐานดังนี้
-รูปแบบที่1 ทำสัญญาความลับทางการค้า/ทางเทคนิค แบบห้ามเปิดเผยเรื่องการทำงานให้ผู้ว่าจ้าง เช่น บริษัท A ว่าจ้างเอาท์ซอสซิ่งฯ B ในสัญญาจะห้ามไม่ให้ เอาท์ซอสซิ่งฯ B เปิดเผยว่าทำงานให้บริษัท A
-รูปแบบที่2 ทำสัญญาความลับทางการค้า/ทางเทคนิค แบบห้ามเปิดเผย แบบ3D ,Draft และรูปถ่าย/คลิปวีดีโอ กับผู้อื่น
-รูปแบบที่ 3 ทำสัญญาความลับทางการค้า/ทางเทคนิค แบบห้าม ไม่ให้เอาท์ซอสซิ่งฯ ทำงานแบบเดียวกันกับผู้ว่าจ้าง ให้กับผู้อื่น
**การทำสัญญาความลับทางการค้า/ทางเทคนิค อาจเลือกทำข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งหมดตามแต่ตกลง


ข้อ8.งานที่เหมาะ/ไม่เหมาะกับเอาท์ซอสซิ่งฯ (เฉพาะเอาท์ซอสซิ่งด้านออกแบบ/คำนวณเท่านั้น)
8.1.งานที่ไม่เหมาะ งานผลิตผลิตภัณฑ์เดิมๆ หรือมีเทคโนโลยีอยู่แล้ว ที่ไม่คิดพัฒนา หรือปรับปรุง หรืองานในกลุ่มงานพื้นฐานที่ไม่ยาก
8.2.งานที่เหมาะ งานผลิตผลิตภัณฑ์เดิมที่ต้องการพัฒนาปรับปรุงให้แข่งขันได้
8.3.งานที่เหมาะ งานที่อยู่ในกลุ่มงานก้าวหน้า และบริษัทไม่มีวิศวกรที่มีความพร้อม 

สุดท้ายหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการได้เข้าใจเอาท์ซอสซิ่งฯ และข้อสังเกตระหว่าง เอาท์ซอสซิ่งฯ กับพนักงานประจำ รวมถึงคำตอบที่ว่า “ทำไมบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ถึงว่าจ้างเอาท์ซอสซิ่งฯมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของพวกเขา”….

Robotics Engineering Outsourcing Services